คลินิกวิทยานิพนธ์ไทย

ที่นี่..วิทยานิพนธ์จะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

Unified Theory on Political Science

Posted by thesisguru บน พฤษภาคม 13, 2007

เชิญดาวน์โหลดไฟล์เพื่อการวิพากษ์ทางวิชาการครับ
ไฟล์ข้อเสนอเชิงทฤษฎี
ไฟล์โมเดลในการพัฒนาทฤษฎี

แสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่เลยครับ  ไม่จำกัดสำนักคิด และขอบคุณ “จอมยุทธผู้กล้า” ทุกท่าน ที่สละเวลาเขียนคอมเม้นท์

มีการตอบกลับหนึ่งครั้ง to “Unified Theory on Political Science”

  1. thesisguru said

    มันอาจจะเป็นคำที่ฟังดูแปลก ๆ แต่ไม่ใช่เรื่องใหม่เลยครับ…แต่ที่ต้องใช้คำแปลก ๆ นี้ก็เพราะว่า…ถ้าเราใช้คำเดิม ๆ มันก็เหมือนกับเราลอกทฤษฎีคนอื่นมาเล่าใหม่…ทั้ง ๆ ที่ทฤษฎีนี้มีคำอธิบายที่เป็นกระบวนทัศน์ใหม่มาก สำหรับรัฐศาสตร์

    คำเก่าที่ว่านั้นได้แก่ “อำนาจในการให้ความหมาย” แต่กระบวนทัศน์ในรัฐศาสตร์เก่า แม้จะเรียกตัวเองว่า postmodern ก็ตาม ก็ยังมองความเป็นจริงทางสังคมในลักษณะปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเรียงกันเป็นเส้นตรง และค่อนข้าง static แต่คำที่ผมนำเสนอสองคำได้แก่ “พลังการหมุนวนของความหมาย” และ “พลังของความหมายทางสังคม” นั้นมีนัยเพื่อสื่อถึงความเกี่ยวเนื่องแบบไม่เป็นเส้นตรงและเคลื่อนไหวอยู่ตลอด ซึ่งประยุกต์จากกฎ nonlinear dynamics ของกระบวนทัศน์แบบ life science แทนกระบวนทัศน์แบบ social physics ที่มีอิทธิพลต่อการวิเคราะห์ของวงวิชาการทางรัฐศาสตร์ส่วนใหญ่ โดยเฉพาะบ้านเรา

    “พลังของความหมายทางสังคม” จะเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ เมื่อเกิด “พลังการหมุนวนของความหมาย” โดยตัวคูณได้แก่ความหมายที่ถูกตีความโดยปัจเจกแล้วป้อนเข้าสู่ระบบ ในที่นี้ก็คือ space ที่คุณสามชายคุ้นเคย หรือระบบ ที่ผมใช้ ซึ่ไม่สำคัญว่าใครจะใช้ metaphor อะไร แต่ก็หมายถึงสิ่งเดียวกัน คือ “ปริมณทลของสังคมมนุษย์”

    “พลังการหมุนวนของความหมาย” จะเกิดขึ้น เมื่อปัจเจกมีอิสระในการตีความ และมีอิสระในการสื่อความหมายออกไป ซึ่งเรามักจะไม่ค่อยเห็นปรากฏการณ์แบบนี้บ่อยนักในบ้านเรา ในด้านอิสระในการตีความนั้น ไม่เกิดขึ้น เพราะปัจเจกถูกครอบงำจากโครงสร้างทางอำนาจมานาน จนไม่รู้สึกว่าถูกครอบงำ แต่อิสระในการสื่อความนั้น ระบบไม่ยอมให้เกิดขึ้น เพราะระบบเชื่อว่าจะไปสั่นคลอนความหมายเดิมที่มีอิทธิพลอยู่ในระบบ

    “ความหมาย” จะหมุนวนเข้าสู่ศูนย์กลางของความหมายเสมอ ซึ่งศูนย์กลางของความหมายจะเลื่อนไหลไปเรื่อย ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์เชิงอำนาจและผลประโยชน์ของศูนย์กลางความหมายและผู้สื่อความหมายออกไป ลักษณะการหมุนวนของศูนย์กลางความหมายอธิบายด้วยพฤติกรรมของ “ตัวดึงดูดประหลาด” หรือใน chaos theory รู้จักกันในนาม strange attractor ที่แสดงลักษณะการดึงดูดแบบปั่นป่วน และในภาพใหญ่ มันจะมีแบบแผน (ระเบียบ) ของมันอยู่

    ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเท่าที่ผมนึกออกตอนนี้คือ…การตีความรัฐธรรมนูญที่เกิดขึ้นในช่วงปีสองปีที่ผ่านมานี้…ในสมัยที่คุณทักษิณยังมีอำนาจ การให้ความหมายมีแนวโน้มที่จะหมุนวนไปสู่คุณทักษิณ แม้จะมีการให้ความหมายในทางตรงกันข้าม แต่พลังในการดึงดูดมีไม่มากพอ…แต่หลังจากที่คุณทักษิณหมดอำนาจ…ศูนย์กลางการให้ความหมายก็เปลี่ยนไป…แม้ศูนย์กลางเก่า…จะพยายามดึงดูดมากเท่าไร ก็ดูเหมือนว่าจะไม่ส่งผล

    คำถามคือ…แล้วทฤษฎี “บ้า ๆ บอ ๆ ทางรัฐศาสตร์” แบบนี้จะอธิบายการเกิดประชาธิปไตยที่แท้จริงได้อย่างไร…ทฤษฎีนี้เสนอว่า “ประชาธิปไตยที่แท้จริงจะเกิดขึ้นเมื่อประชาชนเป็นอิสระจากศูนย์กลางของความหมาย แม้แต่ตัวปัจเจกเอง”…ความหมายในประชาธิปไตยที่แท้จริง จะไม่มีลักษณะหมุนวน…เป็นแต่เพียงการเลื่อนไหลที่มีโลก (ธรรมชาติ) เป็นศูนย์กลางของความหมาย (จริง ๆ อยากจะบอกว่ามีจักรวาลเป็นศูนย์กลางแต่ก็เกรงว่า บางคนอาจตีความผิดเป็นอภิปรัชญาไป จึงใช้คำที่คนพอนึกตามได้)

    ต่อคำถามที่ว่า “แล้วฝ่ายหนึ่งที่ว่ากำลังก่อความหมายขึ้น คือฝ่ายขั้วอำนาจเก่าอย่างนั้นหรือครับ?” นั้น ก็เป็นไปได้ทุกอย่างครับ…เพราะทฤษฎีนี้การเกิดความหมายไม่ได้มีหลักเกณฑ์แน่นอนตายตัวอะไร…ทุกสิ่งทุกอย่างมีโอกาสเป็นไปได้เท่า ๆ กัน…”ถ้าเรามองหาสิ่งใด เราก็จะเจอสิ่งนั้นครับ”…

    …จะมีใครยอมรับไหมเนี่ย…ในวงวิชาการที่กำลังมองหาคำตอบต่อคำถามที่ว่า “ฉันจะรู้ได้อย่างจริงแท้แน่นอนได้อย่างไรว่า ฉันมีอยู่?”

    สวัสดิ์

ใส่ความเห็น